บทความ

บัวบก

รูปภาพ
  บัวบก ชื่อสมุนไพร   บัวบก ชื่ออื่น ๆ /ชื่อท้องถิ่น   ใบบัวบก  ( ภาคกลาง) ผักหนอก จำปาเครือ (ภาคเหนือ) ปะหะ เอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง) แว่นโคก (อีสาน) ผักแว่น (ภาคใต้) เดียกำเช่า ฮมคัก (จีน) ชื่อสามัญ  Asiatic pennywort, Gotu kola , Indian pennywort , Woter pennywort ชื่อวิทยาศาสตร์   Centella asiatica (Linn.) Urban. วงศ์   UMBELLIFERAE (APIACEAE) ลักษณะทั่วไปบัวบก              บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นเป็นไหล( stolen) เลื้อยไปตามพื้นดินหรืออยู่ด้านล่างหน้าผิวดิน ไหลมีลักษณะทรงกลม ไหลอ่อนมีสีขาว ไหลแก่มีสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 0.2-0.4 มิลลิเมตร ยาวได้มากกว่า 1 เมตร ไหลมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นจุดแทงออกของก้านใบ ส่วนด้านล่างของข้อมีรากแขนงแทงลึกลงดิน และแต่ละข้อแตกแขนงแยกไหลไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นบัวบกขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยรอบได้อย่างหนาทึบ   ใบบัวบกออกเป็นใบเดี่ยว และออกเป็นกระจุกจำนวนหลายใบบริเวณข้อ แต่ละข้อมีใบ 2-10 ใบ ใบประกอบด้วยก้านใบที่แทงตั้งตรงจากข้อ ก้านใบสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน              ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เชื่อมติดกับก้านใบบริเวณ

คนทีสอ

รูปภาพ
  คนทีสอ ชื่อสมุนไพร   คนทีสอ     ชื่ออื่น  ๆ   คนทีสอขาว  ( ชลบุรี ) ,  โคนดินสอ  ( ภาคกลาง ) ,  ดินสอ  ( ภาคกลาง ) ,  สีสอ  ( ประจวบคีรีขันธ์ ) ,  มูดเพิ่ง  ( ตาก ) ,  ผีเสื้อน้อย  ( ภาคเหนือ ) ,  สีเสื้อน้อย  , ดอกสมุทร  ( เชียงใหม่ ) , ทีสอ  ,  เทียนขาว  ( เพชรบุรี ) , คนตีสอ  ( สตูล )   ชื่อวิทยาศาสตร์   Vitex  trifolia  Linn.   ชื่อสามัญ  Indian Privet. Indian Wild Pepper, Milla.   วงศ์  Verbenaceae   ลักษณะของต้นคนทีสอ       เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง   สูงประมาณ  3-6  เมตร   มีเปลือกของลำต้นเป็นสีเทา   เป็นกระสีดำ   เปลือกเรียบแตกเป็นร่องตื้นตามยาว   ลักษณะของใบจะเป็นใบประกอบแนวนิ้ว   ออกตรงข้ามกัน   ใบย่อยเป็นรูปไข่มีปลายแหลม  3  ใบ   กว้างประมาณ  3  เซนติเมตร   ยาว  4-6  เซนติเมตร   ขอบใบจะเรียบ   ปลายใบแหลม   โคนใบสอบ   ท้องและหลังใบเรียบ   ท้องใบมีสีขาวนวล   ส่วนหลังใบเป็นสีเขีย   ลักษณะของดอกต้นคนทีสอ   ดอกเล็กสีม่วงเป็นช่อยาว   ออกดอกที่ปลายกิ่ง   โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน   ปลายแยกเป็น  5  กลีบ   ขนาดไม่เท่ากัน   มีเกสรตัวผู้  4  อัน   ส่วนลักษณะของผลมีรูปร่างกลมเท่าผลพริกไทยเป็